ประวัติ กศน.ตำบล

 สภาพข้อมูลทั่วไป
ประวัติตำบลเวินพระบาท
        หมู่บ้านเวินพระบาทได้ก่อตั้งขึ้นในประมาณ  160  ปีที่ผ่านมาโดย  นางสีดา  และนายไล   ได้แต่งงานที่บ้านห้อมและได้ย้ายมาอาศัยทีหมู่บ้านเวินพระบาท  โดยอาศัยการสำรวจพื้นที่ก่อนที่จะย้ายมาอยู่เป็นครอบครัวแรกในหมู่บ้านจากนั้นมีเพื่อนบ้านมาอาศัยอยู่ด้วยเป็นครอบครัวที่ 2 ซึ่งย้ายถิ่นฐานมาจากประเทศลาวและมีประชากรเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึง    ปัจจุบันคำว่า  เวินพระบาทมาจากเวิน  คือ  การไหลเวียนของกระแสน้ำ    บริเวณหมู่บ้านที่ไหลเป็นน้ำวน  และไหลย้อนกลับเสมอจึงตั้งชื่อว่า  เวิน  ส่วนคำว่า  พระบาท  คือ  เมื่อสมัยก่อนพระพุทธเจ้าเสด็จผ่านมาถึง  บริเวณบ้านเวินพระบาทได้พบเห็นฝูงปลาและมีปลาตัวหนึ่งที่มีบริวารปลามากมายได้หยุดและชมจากนั้นปลาตัวนั้นเห็นรัศมีของพระพทุธเจ้าไว้บูชาและปลาตัวนั้นคือ  พยานาค  ชื่อว่ามัจฉานาคมารวมกับ  เวิน”  จึงใช้เรียกเป็นชื่อหมู่บ้านเวินพระบาท  พระพุทธบาทไว้บูชาประทับไว้ที่โขดหินกลางแม่น้ำโขงพระยานาคมีความเลื่อมใสพระพทุธเจ้ามากจึงเกิดรอยพระพทุธเจ้าเกิดขึ้น
      ปัจจุบันผู้ใดพบเห็นก็เกิดความเลื่อมใสมากบางคนก็มาขอพรกับรอยพระพทธบาทที่นี่
  บางคนที่มาขอพรไปแล้ว  ก็ประสบผลสำเร็จตามที่ขอจึงมาเยี่ยมเยือนบ่อยๆ  จนมีชื่อเสียงไปจนทั่ว  จึงมีผู้ใหญ่หลายท่านเข้ามาขอพร  เช่น  พลเอกชวลิต  ยงใจยุทธ  ที่มีความศรัทธามากมาขอพรกับรอยพระพทธบาท  ให้ได้เลื่อนยตำแหน่งเป็นนายยกรัฐมนตรีก็ได้ตามความปรารถนาจึงเป็นที่เคารพสักการะกันต่อไปตามและตามความเชื่อเรื่องการห้ามนำศพคนที่ตายโหงหรือตายด้วยอุบัติเหตุเข้าหมู่บ้านเพราะมีความเชื่อว่าจะเป็นการนำวิญญาณบุคคลที่ตายนั้นมาหลอกหลอนและเป็นสิ่งที่อัปมงคลไม่สามารถนำเข้ามาทำพิธีในหมู่บ้านได้ให้นำศพนั้นไปทำพิธีที่วัดเท่านั้นและไม่ควรนำศพนั้นไว้นานควรทำพิธีภายใน 1 วัน  และทำการเผาทันทีเป็นความเชื่อที่หมู่บ้านได้ทำและปฏิบัติสืบต่อกันมา
 ๑. ที่ตั้ง
กศน.ตำบลเวินพระบาท    เป็นตำบลที่ตั้งอยู่ในแนวชายแดนไทยและลาว   มีลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่ติดริมฝั่งแม่น้ำโขงเลียบตามแนวชายฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ยาวประมาณ    กิโลเมตร   สำนักงานเทศบาลตำบล  ตั้งอยู่เลขที่ ๓๕/หมู่ที่    บ้านปากทวย  ตำบลเวินพระบาท  อำเภอท่าอุเทน    จังหวัดนครพนม  ห่างจากตัวอำเภอท่าอุเทน  ประมาณ    กิโลเมตร  และห่างจากตัวจังหวัด  ๑๗  กิโลเมตร
         ๒.เนื้อที่
เทศบาลตำบลเวินพระบาท  มีเนื้อที่ประมาณ  ๓๒,๐๕๑  ไร่  หรือประมาณ  ๕๑.  ตารางกิโลเมตร  ประกอบด้วยพื้นที่เขตป่าอุทยานดงเชียงยืน  พื้นที่ทำการเกษตรและพื้นที่อื่น 
    ๓.ภูมิประเทศ
     ทิศเหนือ          ติดต่อกับบ้านธาตุ  ตำบลโนนตาล  อำเภอท่าอุเทน  จังหวัดนครพนม
     ทิศใต้             ติดต่อกับบ้านห้อม  ตำบลอาจสามารถ  อำเภอเมือง  จังหวัดนครพนม
     ทิศตะวันออก     ติดกับริมฝั่งแม่น้ำโขงกั้นสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
     ทิศตะวันตก      ติดกับตำบลรามราช  อำเภอท่าอุเทน  จังหวัดนครพนม
ส่วนติดริมโขง         ที่ลาบลุ่มและมีดอนเป็นบางแห่ง  มีป่าไม้สลับพื้นที่นา  ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม  มีแม่น้ำโขงไหลผ่านตลอด  หมู่บ้าน
ส่วนไม่ติดริมโขง       ประกอบด้วยหมู่บ้าน    หมู่บ้าน  พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าโปร่งอยู่ห่างจากริมโขงประมาณ  -   กิโลเมตร  พื้นที่รองลงมาเป็นดินทรายผสมลูกรัง  บางแห่งเป็นเนินสลับที่ราบที่นา  มีแหล่งน้ำ  หนองธรรมชาติอยู่ประปราย
๔.สภาพภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศส่วนใหญ่ของเทศบาลตำบลเวินพระบาท  แบ่งออกเป็น    ฤดู
ฤดูร้อน      เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์  ถึง  เดือนพฤษภาคม  ของทุกปี  อุณหภูมิเฉลี่ย  ๒๕-๓๕องศาเซลเซียส  สูงสุดวัดได้ประมาณ  ๔๐  องศาเซลเซียส
ฤดูฝน        เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม  ถึง  เดือนกันยายนของทุกปี  สำหรับในเดือนมิถุนายนของทุกปีจะเกิดปรากฏการณ์ฝนทิ้งช่วง  และในเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม  จะมีฝนตกชุกตลอดปี  จนทำให้เกิดน้ำป่า  หรือเรียกอีกอย่างว่า  “น้ำแกว่ง”
ฤดูหนาว     เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไป  ถึง  เดือนมกราคม  ของปีถัดมา  สภาพอากาศจะเริ่มหนาวเย็นมากในเดือนธันวาคม – มกราคม  โดยมากประชาชนจะก่อไฟผิง
๕.จำนวนหมู่บ้านและประชากร          
เทศบาลตำบลเวินพระบาท  มีเขตการบริหารอยู่ในพื้นที่  ๑๐  หมู่บ้าน  ประกอบด้วยหมู่บ้าน   ดังนี้
หมู่ที่
ชื่อหมู่บ้าน
จำนวนครัวเรือน
เพศชาย
เพศหญิง
รวมประชากร
   บ้านเวินพระบาท
๒๒๖
๔๒๐
๔๑๙
๘๓๙
   บ้านยางนกเหาะ
๑๐๔
๑๗๒
๑๘๙
๓๖๑
   บ้านนาโสกใต้
๗๖
๑๖๕
๑๕๗
๓๒๒
   บ้านเชียงยืน
๒๒๐
๓๖๖
๓๓๓
๖๙๙
   บ้านปากทวย
๓๑๙
๕๐๗
๕๓๓
๑,๐๔๐
   บ้านนาสีดา
๘๖
๒๓๒
๒๒๒
๔๕๔
   บ้านม่วง
๒๑๓
๕๐๑
๕๐๓
,๐๐๔
   บ้านนาแค
๑๕๙
๓๖๖
๓๕๘
๗๒๔
   บ้านน้อยชลประทาน
๘๑
๑๕๙
๑๒๔
๒๘๓
๑๐
   บ้านนาโสกเหนือ
๑๐๘
๑๗๙
๑๗๗
๓๕๖
รวมทั้งสิ้น
๑,๖๐๕
๓,๐๖๗
๓,๐๑๕
๖,๐๘๒

มีประชากรทั้งสิ้น   ๖,๐๘๒   คน    เป็นชาย  ,๐๖๗  คน    หญิง  ๓,๐๑๕   คน   ประชากรผู้มีสิทธิเลือกตั้ง   จำนวน   ,๓๘๓   คน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น